วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ทักษะมวยไทย

ทักษะมวยไทย
          ในการฝึกมวยไทยจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจหลักพื้นฐานก่อน เพราะเป็นทักษะเบื้องต้นการเรียนแม่ไม้มวยไทยและกลมวย เพื่อนำไปสู่การมีทักษะในขั้นสูงต่อไป ซึ่งหลักพื้นฐานดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้กล่าวไว้ในศิลปะมวยไทย ดังนี้
                - การตั้งท่าจดมวย   การตั้งท่าจดมวย หมายถึง การวางเข่า การวางมือให้ถูกต้องตามหลักการฝึก ซึ่งในการจดมวยนั้น ต้องทราบเหลี่ยมมวยด้วย เหลี่ยมมวย หมายถึง การแสดงการใช้มือและเท้าที่ถนัด ออกมาให้เห็น โดยปกติมวยจะมี ๒ เหลี่ยม คือ เหลี่ยมซ้าย และเหลี่ยมขวา
                              เหลี่ยมซ้าย หมายถึง การยื่นหมัดขวาไปข้างหน้าสูงเหนือระดับหางคิ้ว ในขณะที่เท้าขวายื่นไปข้างหลัง หมัดซ้ายชิดคาง เท้าซ้ายอยู่ด้านหลัง ลำตัวเหยียดตรง ไม่เกร็งปล่อยตัวตามสบาย โดยให้น้ำหนักอยู่ที่เท้าซ้าย ระยะห่างของเท้าทั้งสองข้าง ๑ ช่วงตัว สายตามองผ่านมือไปยังคู่ต่อสู้ตลอดเวลา
                              เหลี่ยมขวา หมายถึง การยื่นหมัดซ้ายไปข้างหน้าสูงเหนือระดับหางคิ้ว ในขณะที่เท้าซ้ายยื่นไปข้างหลัง แขนซ้ายขนานกับลำตัว หมัดขวาชิดคาง เท้าขวาอยู่ด้านหลัง ลำตัวเหยียดตรง ไม่เกร็งปล่อยตัวตามสบาย ให้น้ำหนักอยู่ที่เท้าขวา สายตามองผ่านมือไปยังคู่ต่อสู้ตลอดเวลา
                    - การวางตำแหน่งอวัยวะ   การวางตำแหน่งของอวัยวะที่ได้จดมวย หมายถึง การกำหมัด
วางเท้า มือ และลำตัว
                   การกำหมัดที่ถูกต้อง คือ แบมือให้นิ้วมือทั้ง ๔ เรียงชิดติดกัน แล้วพับนิ้วทั้ง ๔ นิ้วเข้าหาอุ้งมือ
แล้วกดทับด้วยนิ้วหัวแม่มือลงทาบ ในลักษณะเฉียงกับนิ้วชี้และนิ้วกลาง เพื่อให้หมัดที่กำกระชับแน่น โดยไม่เกร็ง
 

การใช้หมัด เท้า เข่า ศอก
๑) การใช้หมัด
          -หมัดตรง หมายถึง การใช้หมัดที่ถนัดมุ่งไปยังเป้าหมาย โดยอาศัยแรงจากหัวไหล่ ลำตัว และเท้ายันพื้น โดยน้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าหน้า ใช้แรงส่งจากเท้าหลังและสะโพก หัวไหล่ 
            -หมัดตัด  หมายถึง การใช้หมัดเหวี่ยงในลักษณะโค้งเป็นครึ่งวงกลม บริเวณลำตัว ใบหน้า
หรือศีรษะของคู่ต่อสู้ ผู้รู้บางคนเรียกว่า
 "หมัดเหวี่ยง" แบ่งออกเป็น หมัดเหวี่ยงสั้น และหมัดเหวี่ยงยาว
                              หมัดเหวี่ยงสั้น หมายถึง การเหวี่ยงวงแคบ
                              -  หมัดเหวี่ยงยาว  หมายถึง การเหวี่ยงวงกว้าง
              หมัดตวัด หมายถึง การใช้สันหมัดกดลงบริเวณอวัยวะสำคัญของคู่ต่อสู้ ในลักษณะเหยียดแขน
ออกไป พร้อมชกตวัดวงแคบ
              หมัดเสย หมายถึง การใช้หมัดชกเข้าหาคู่ต่อสู้โดยงอศอก เกร็งข้อศอกหงายหมัด แล้วพุ่งหมัดยกขึ้นสู่เป้าหมาย ได้แก่ ปลายคาง ดั้งจมูก หรือใบหน้าคู่ต่อสู้ 



cr;https://sites.google.com/site/doisaketwittayakomsports/klu-sm-sara-sukh-suksa-elea-phlsuksa/kila-mwythiy/tawxyang-kar-len-kila

ทักษะการเล่นกีฬาเปตอง

ทักษะการเล่นกีฬาเปตอง
วิธีการจับลูกเปตอง
        1. หงายมือวางลูกบูลลงไปในอุ้มมือในท่าที่สบาย (รูปที่1)
        2. หรือคว่ำมือจับลูก (รูปที่2)
        3. ทั้งนี้จะจับแบบใดก้ได้แต่ความถนัดของแต่ละบุคคล


       
 4. ก่อนโยนลูกให้คว่ำมือลงดังรูปที่3,4,5,6เหตุที่ต้องคว่ำมือเพราะจะสามารถบังคับลูกให้ไปตามทิศทางที่เราต้องการได้ไม่ว่าลูกที่ปล่อยไปนั้นเป็นลูกเข้าหรือลูกตี
        5. ก่อนโยนให้หักข้อมือลงและม้วนเข้าหาข้อมือในจังหวะสุดท้ายที่จะปล่อยลูกให้ใช้อุ้งมือส่งลูกออกไป โดยใช้ปลายนิ้วบังคับลูก

หลักการเข้าลูกบูล
การเข้าลูกบูล ถือเป็นหัวใจสำคัญของการเล่นเปตอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากพอสมควร มีหลักการเข้าลูกดังนี้
               1. ใช้ความสังเกต และจดจำปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเอง และคู่ต่อสู่
               2. ศึกาพื้นสภาพที่ใช้ฝึก หรือแข่งขัน ว่ามีสภาพเป็นเช่นไร แข็ง เรียบ ขรุขระ ฯลฯ
               3. หาจุดตก เพื่อจะได้คำนวณน้ำหนักมือที่จะส่งลูก ให้พอเหมาะกับระยะ
               4. ไม่ควรโยนลูกออกจากมือ ถ้าสมาธิยังไม่ดีพอ





cr;https://sites.google.com/site/doisaketwittayakomsports/klu-sm-sara-sukh-suksa-elea-phlsuksa/kila-petxng/tawxyang-kar-len-kila

ทักษะกีฬาวอลเลย์บอล

ทักษะการเล่น
ทักษะกีฬาวอลเลย์บอล
1. การเสิร์ฟ (อันเดอร์)
                1. หงายมือทั้งสองข้าง
                2. เอามือหนึ่งไปวางช้อนทับอีกมือหนึ่ง
                3. รวบมือให้นิ้วหัวแม่มือชิดติดกัน มัด
                4. ใช้มือใดมือหนึ่งกำหมัด
                5. ใช้อีกมือหนึ่งโอบหมัด
                6. ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองชิดติดกัน .กำมือ
                7. กำมือทั้งสองข้าง
                8. นำมือทั้งสองข้างมาชิดกัน
                9. ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างเสมอกัน

การออกแรงเล่นลูกด้วยสองมือล่าง
                หากลูกบอลที่พุ่งมาไม่แรง การอันเดอร์ลูกต้องเพิ่มแรงยกของแขนขึ้น เพื่อให้เกิดแรงกระทบลูก  หากลูกบอลพุ่งมาแรงมากให้ออกแรงส่งเพียงเล็กน้อยโดยอาศัยแรงกระดอนจากลูกช่วยในการส่งลูกบอลการที่จะใช้แรงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับระยะทางความเร็ว ความแรงของลูกบอลด้วย
ท่าการอันเดอร์
                1.1 ยืนเท้าใดเท้าหนึ่งอยู่ข้างหน้าห่างกัน ประมาณ 1 ช่วงไหล่
                1.2 ย่อเข่าลงให้หัวเข่าเลยปลายเท้าเล็กน้อยก้มลำตัวให้หัวไหล่อยู่ในแนวระดับของเข่า
                1.3 ยกส้นเท้าขึ้นเล็กน้อย น้ำหนักตัวอยู่ที่ปลายเท้าทั้งสองข้าง ตรงบริเวณโคนหัวแม่เท้า ใต้ฝ่าเท้า
                1.4 จับมือในท่าที่ถูกต้อง แขนทั้งสองเหยียดตึง ตามองที่ลูกบอล



cr;https://sites.google.com/site/doisaketwittayakomsports/klu-sm-sara-sukh-suksa-elea-phlsuksa/kila-wxlleybxl/tawxyang-kar-len-kila

กีฬาเทเบิลเทนนิส

ทักษะการเล่น

กีฬาเทเบิลเทนนิส

วิธีการเล่นกีฬาปิงปอง หรือ เทเบิลเทนนิส
           1. การส่งลูกที่ถูกต้อง ลูกจะต้องอยู่ที่ฝ่ามือแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ สูงไม่น้อยกว่า 16 เซนติเมตร
           2. การรับลูกที่ถูกต้อง เมื่อลูกเทเบิลเทนนิสถูกตีข้ามตาข่ายมากระทบแดนของตนครั้งเดียว ต้องตีกลับให้ข้ามตาข่าย หรืออ้อมตาข่ายกลับไป ลูกที่ให้ส่งใหม่ คือ ลูกเสิร์ฟติดตาข่าย แล้วข้ามไปตกแดนคู่ต่อสู้หรือเหตุอื่นที่ผู้ตัดสินเห็นว่าจะต้องเสิร์ฟใหม่
           3. การแข่งขันมี 2 ประเภท คือ ประเภทเดี่ยวและประเภทคู่
           4. การนับคะแนน ถ้าผู้เล่นทำผิดกติกา จะเสียคะแนน
           5. ผู้เล่นหรือคู่เล่นที่ทำคะแนนได้ 11 คะแนนก่อน จะเป็นฝ่ายชนะ ยกเว้นถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายทำคะแนนได้ 10 คะแนนเท่ากันจะต้องเล่นต่อไป โดยฝ่ายใดทำคะแนนได้มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง 2 คะแนน จะเป็นฝ่ายชนะ 
  6. การแข่งขันประเภททีมมี 2 แบบ คือ
                    6.1. SWAYTHLING CUP มีผู้เล่นครั้งละ 3 คน
                    6.2. CORBILLON CUP มีผู้เล่นครั้งละ 2 - 4 คน
 ทักษะการตีลูกบอลแบบ Half Volley หรือ Block Shots
Half Volley หรือ Block Shots คือทักษะการตีลูกพร้อม หรือ ทักษะการตีลูกบอลแบบรับยันนั่นเอง ทักษาะการเล่นลูกบอลแบบนี้ เป็นลักษณะของการตีลูกบอลที่พุ่งขึ้นจากโต๊ะทันทีทันใด มีท่าการเล่นช่วงสั้นการบล๊อคลูกต้องบล๊อคในจังหวะที่ก่อนลูกบอลจะขึ้นถึงจุดสู.สุด และต้องบล๊อคให้เร็ว ความเร็วเป็นลักษณะพิเศษที่สำคัญที่สุดของการบล๊อควิธีปฏิบัติ
1.Half Volley หรือ Block Shot ด้านหลังมือ
        - ยืนชิดแนวขอบโต๊ะโน้มลำตัวไปข้างหน้า
        - ท่าทางการยืนดังเช่น Back Hand Push Stroke (ยืนคุมแบบ Back Hand)
        - มุมของหน้าไม้ทำมุมกับพื้นโต๊ะประมาณ 90 องศา และให้ด้ามไม้ถือขนานกับพื้นหน้าของโต๊ะ
        - ก่อนตีลูกให้แขนท่อนบนกับข้อศอกชิดลำตัว (แขนด้านที่จับไม้ถือ)
        - ขณะที่ลูกบอลตกกระทบพื้นโต๊ะ กระดอนขึ้นมาให้เคลื่อนแขนเข้าหาลูกบอลเพื่อตีลูกบอลใน
ลักษณะเหยียดแขนไปข้างหน้า
2.Half Volley หรือ Block Shot ด้านหน้ามือ
        - ยืนชิดแนวขอบโต๊ะ โน้มลำตัวไปข้างหน้า
        - ท่ายืนคุมหน้ามือ เท้าทั้ง 2 ขนานกัน
        - แขนท่อนบนกับข้อศอกแนบชิดลำตัว แขนท่อนล่างทำมุมกับแขนท่อนบนประมาณ 90 องศา
        - หน้าไม้ตั้งฉาก ถือไม้แร็กเกตสะโพกด้านข้างลำตัว การส่งแรงปะทะของการตีลูกบอลแบบรับยันนี้ อาศัยแรงจากการกระดอนสะท้อนโต้กลับไปเป็นส่วนใหญ่

cr;https://sites.google.com/site/doisaketwittayakomsports/klu-sm-sara-sukh-suksa-elea-phlsuksa/kila-takrx

กีฬาฟุตซอล



กีฬาฟุตซอล

หลักทั่วไป
ทักษะในการรับบอลหรือบังคับบอล หมายถึง การบังคับบอลที่มาในลักษณะต่าง ๆ ทั้งบนพื้นและในอากาศ เพื่อให้บอลอยู่ในครอบครองและสามารถเล่นต่อไปตามความต้องการ การรับบอลหรือหยุดบอลนั้นเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญในการเล่นฟุตซอลหากหยุดหรือรับบอลไม่อยู่ จะทำให้เสียบอลให้ฝ่ายตรงข้ามได้
เทคนิคการหยุดบอลหรือรับบอล
            การหยุดบอลหรือรับบอล โดยการใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนี้
1. การหยุดบอลด้วยฝ่าเท้า การหยุดบอลด้วยฝ่าเท้า เป็นการหยุดที่ง่ายที่สุดลูกเรียดที่กลิ้งเข้ามาหา ยืนทรงตัวให้ดีพร้อมกับยื่นเท้าออกไปข้างหน้าแล้วใช้ฝ่าเท้าหยุดบอล
2. การหยุดบอลด้วยเท้าด้านใน
-. ลักษณะการยืนและท่าทางเหมือนกับการเตะข้างเท้าด้านใน
-. เมื่อบอลวิ่งเข้าหาจากด้านหน้า ด้านข้างหรือจากด้านหลัง เท้าที่เป็นหลักและเท้าที่จะหยุดบอลอยู่ในลักษณะเหมือนกับการเตะด้วยข้างเท้าด้านใน
-. เท้าที่จะหยุดบอลยื่นไปข้างหน้าเล็กน้อยแล้วผ่อนโดยดึงเท้ากลับเล็กน้อย ก่อนจะสัมผัสและหยุดบอล
3. การหยุดบอลด้วยข้างเท้าด้านนอก
-. ตามองบอลพร้อมกับหันข้างที่ใช้เป็นเท้าในการรับบอล
-. เท้าที่ใช้เป็นหลักควรย่อเข่าลงเล็กน้อย
-. ลักษณะข้างเท้าที่ใช้รับบอลควรผ่อนเท้าตามแรงเข้าหาของลูกบอลหันข้างเท้าด้านนอกเข้าหา เมื่อบอลสัมผัสเท้า
4. การหยุดลูกบอลด้วยเข่าหรือหน้าขา
-. ให้หันหน้าเข้าหาทิศทางที่ลูกบอลจะลอยมา
-. เคลื่อนที่เข้าหาตำแหน่งที่คาดว่าลูกน่าจะตก ตาจับจ้องที่ลูก กางแขนออกเพื่อช่วยการทรงตัว จดเท้าข้างที่ใช้เป็นหลักไว้บน



cr;https://sites.google.com/site/doisaketwittayakomsports/klu-sm-sara-sukh-suksa-elea-phlsuksa/kila-fut-sxl/thaksa-kar-fut-sxl




Infographic